วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีเครือข่าย

ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย
ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทำให้การทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ร่วมกันเป็นส่วนกลาง เช่น เครื่องพิมพ์,พลอตเตอร์,ฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด เช่น ผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะอยู่ห่างจากสถานที่ที่เก็บข้อมูลถึง 1000 กิโลเมตร แต่เขาก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้เหมือนกับข้อมูลเก็บอยู่ที่เดียวกับที่ๆ เขาทำงานอยู่ และยังสามารถกำหนดระดับการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งจะเป็นการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับ
3. การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น หากผู้ใช้อยู่ห่างกันมาก การติดต่ออาจไม่สะดวก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องติดต่อด้วยไม่อยู่ ก็อาจฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้ง ข่าวสารนั้นทันที
การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
ตามขนาด: แบ่งเป็น Workgroup , LAN , MAN และ WAN
ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น peer-to-peer และ client-server
ตามรูปแบบ: แบ่งเป็น Bus ,Ring และ Star
ตาม bandwidth: แบ่งเป็น baseband และ broadband หรือว่าเป็น megabits และ gigabits
ตามสถาปัตยกรรม: แบ่งเป็น Ethernet หรือ Token-Ring
ในปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้นครอบคลุมอยู่ ได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน
2. ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ
3. ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบเครือข่ายแบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล
ในระบบเครือข่ายจะต้องมีสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีงานต่างๆ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อส่งข้อมูล ซึ่งสื่อเหล่านี้จะมีหลายแบบให้เลือกใช้ โดยแต่ละแบบเองก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าจะพิจารณาโดยยึดราคา หรือศักยภาพเป็นเกณฑ์
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Transmission media) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์), สายโคแอกเชียล (Coaxial Cables), เส้นใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)
2. ประเภทไม่มีสาย ได้แก่ ไมโครเวฟ (Microwave) และดาวเทียม (Satellite Tranmission)
3. ระบบอื่น ๆ ได้แก่ ระบบวิทยุ (Radio Transmission), ระบบอินฟาเรด (Infrared Transmission) และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission)
ประเภทมีสาย
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable) เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง

ขั้นตอนการเข้าหัวแจ็คRJ45

การเข้าสายแลน และ ต่อสายแลน
ในระบบเครือข่ายการใช้สาย UTP นั้นหลายคนคงสงสัยอยู่ว่าบางครั้งเขาใช้สายธรรมดา บางครั้งใช้สาย Cross บ้าง แล้วสองสายนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ลองมาดูลักษณะการเชื่อมต่อภายในของสาย UTP 8 เส้นที่ว่าก่อนดีกว่าว่าเป็นยังไงบ้างดูรูปเลยแล้วกัน ถ้าเป็นการเข้าสายแบบธรรมดาหรือที่เขาใช้กันทั่วไป จะเป็นการต่อแบบที่ 1 ไป และ 2 ไป 2 จนถึง 8 ส่วนการไล่สีก็จะมีเป็นมาตรฐานกลาง ๆ ในการ ใช้ดังที่แสดงอยู่นั่นแหละ อันนี้เขาจะใช้เชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์มาที่ HUB หรือ Switching




ส่วนข้างล่างนี้เป็นการเข้าสายที่เราเรียกว่า Cross Cable นั่นเอง สังเกตว่าจะเป็นการสลับระหว่าง 1,2,3,6 ซึ่งเขา มักจะใช้ในกรณีของเชื่อมต่อระหว่าง HUB-to-HUB โดยที่ไม่ผ่านทาง Uplink Port คือ ต่อจาก Port ธรรมดาไป Port ธรรมดา เขาต้องใช้สาย Cross และเราสามารถนำมาดัดแปลง ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ต้องการต่อเป็น เครือข่ายโดยผ่านทางสาย UTP ได้โดยการใส่ LAN Card ลงที่เครื่องทั้งสองแล้วใช้สาย Cross ในการเชื่อมต่อเครื่อง ทั้งสองให้เป็นระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องใช้ HUB ก็ได้





ส่วนสายอีก 4 เส้นที่เหลือคือ 4,5,7,8 ก็ไม่ต้องไปสลับอะไรกับมันก็ได้ เพราะว่าไม่ได้ใช้ในการส่งสัญญาณการต่อสายแลนการทำสายสัญญาณ เพื่อใช้เองในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็กก็ได้ วิธีการก็ไม่มีอะไรมากอย่างแรกเลยก็จัดเตรียมเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ให้ครบถ้วนก่อนจะได้ไม่ต้องวิ่งหาตอนติดตั้ง โดยอุปกรณ์โดยทั่วไปก็มี สายสัญญาณหรือ UTP Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย LAN แล้วก็หัว RJ-45 (Male), Modular Plug boots หรือตัวครอบสาย หากว่ามี Wry Marker แล้วก็จะมีเหมือนกันเพราะว่าจะช่วยในการทำให้เราจำสายสัญาณได้ว่าปลายด้านไหนเป็นด้านไหน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นหมายเลข ไว้ใส่ในส่วนปลายทั้งสองด้านเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบระบบสายสัญญาณ คีมแค้มสายสัญญาณ หรือ Crimping Tool, มีดปอกสาย หรือ Cutter เอาละมาว่ากันเลยดีกว่าก่อนอื่นก็หยิบมีดหรือ Cutter อันเล็ก ๆ มาอันหนึ่งแล้วก็เล็งไปที่นิ้วจากนั้นก็ตัดนิ้วทิ้งไปซะ แล้วค่อยเอาหัว RJ มาต่อกับนิ้วแทน เท่านี้คุณก็สามารถเชื่อมต่อตัวคุณเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วยความไวสูงสุดถึง 100 มิลลิลิตรต่อนาที บางทีอาจจะเป็น Full Duplex Mode อีกต่างหาก ล้อเล่น ๆ เอาละนะใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูปข้างล่างนี้





จากนั้นก็ให้ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45 ไว้ก่อนเลยดังรูปข้างล่างนี้






รูปแสดงคีมหรือ Crimping Tool ที่จะใช้ในการแค้มหัว อันนี้เป็นของยี่ห้อ Amp ราคาในตลาดก็คงประมาณ 5,000-6,000 บาทแต่ถ้าไม่ได้ใช้เยอะก็แนะนำให้เดินซื้อแถวพันทิพย์ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทุกมุมในปัจจุบันนี้ ถ้าเอาแบบพอใช้ได้ราคาก็ประมาณ 400-800 บาท คุณภาพก็พอใช้ได้นะ ผมก็เคยซื้อมาใช้หลายอันแล้ว แต่ของ Amp นี้ค่อนข้างน่าใช้และชัวร์กว่าเยอะในการเข้าสาย แต่ราคานี่สิผมว่ามันไม่ค่อยจะน่าสนเท่าไหร่ ถ้าเราไม่มีอาชีพในการทำงานด้านนี้เฉพาะหรือ ต้องมีการเดินระบบสายสัญญาณบ่อย ๆ



รูปของคีมหรือ Crimping Tool ด้านหน้าที่จะใช้แค้มสาย






หลังจากที่ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ส้ม-ขาวส้ม --- > เขียว-ขาวเขียว --- > น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน --- > น้ำตาล-ขาวน้ำตาล เพื่อแบ่งสายออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีดังนี้
ขาวส้ม --- > ส้ม --- > ขาวเขียว --- > น้ำเงิน ---> ขาวน้ำเงิน --- > เขียว --- > ขาวน้ำตาล --- > น้ำตาล




ซึ่งสีที่ไล่นี้เป็นสีที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อ ซึ่งจริง ๆ แล้วการเข้าสายมีมาตรฐานการไล่สีอยู่หลัก ๆ ก็ 2 แบบแต่ในที่นี้ผมเอาแบบนี้แล้วกันเพราะว่าส่วนมากแล้วเขาจะใช้วิธีการไล่สีแบบนี้ หลังจากจัดเรียงสีต่าง ๆ ได้แล้วก็ให้จัดสายให้เป็นระเบียบ ให้พยายามจัดให้สายแต่ละเส้นชิด ๆ กัน ดังรูป







หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 เลย




จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวนหุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่าย โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูปข้างล่างนี้




แล้วก็นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป บรรจงนิดหนึ่งนะครับในช่วงนี้ เพราะว่าเป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อของชีวิตสายสัญญาณของคุณเลยแหละ เท่าที่ประสบการในการเข้าสายสัญญาณของผม ถ้าเป็นไอ้เจ้า Amp นี่ก็ไม่ต้องออกแรงมากเท่าไหร่ก็ OK ได้เลย แต่ถ้าเป็นแบบของทั่ว ๆ ไปก็คงต้องออกแรงกดกันนิดหนึ่งแล้วกัน







ที่สุดก็จะได้ปลายสัญญาณของระบบที่คุณต้องการดังกล่าวดังรูป ที่นี้ก็ไปทำอย่างที่ว่ามานี้อีกครั้งหนึ่งที่ปลายสายอีกด้านหนึ่ง แต่อย่าหลงเข้าใจผิดว่านี่เป็นสาย Cross นะ เพราะว่าสาย Cross นั้นคุณต้องทำการสลับสายสัญญาณที่เข้านี้ ลองไปดูหัวข้อ Tip of the Day นะผมแนะนำการเข้าสาย Cross ไว้ที่นั่นแล้ว เพราะว่าการเข้าสายทั้งสองแบบนี้การไล่สีของสายไม่เหมือนกัน แตกต่างกันนิดหน่อย ส่วนสาย Cross เราสามารถนำเอาไปเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้เป็นระบบเครือข่ายได้โดยที่ไม่ต้องใช้ HUB ได้เลย แต่ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนสายแบบที่ต่อตรง ๆ นั้นจะใช้เชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์มายัง HUB

สิ่งที่ได้จากการสอบปฏิบัติการเข้าหัว RJ-45
1.ได้รู้มาตราฐานของสาย lan และ หัวRJ-45
2.ได้รู้ขั้นตอนการจั๊มหัว RJ-45
3.ได้รู้จักการกะการประมาณขนาดของสายที่ใส่ได้
4. สามารถนำไปใช้ในชีวิตประวันได้
5. สามารถนำไปสอนกับบุคคลอื่นๆได้
6. สามารถนำมาประกอบอาชีพของเราได้
นายวีระยุทธ สุสม
รหัส 49043494343
sect.03
ผู้จัดทำ