หน้าที่และหลักการทำงานโทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮัป (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
การทำงานโทโปโลยีแบบดาว มีหลักการรับและส่งข้อมูล
หลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Computer)
การขยายเพิ่มเติมระบบ
หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่ใช้กับโทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
สายนำสัญญาณ
สายนำสัญญาณนับถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบเครือข่ายที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีการติดต่อสื่อสาร กันในระยะทางที่ไกล สายนำสัญญาณ นั้นมีหลายชนิด มากมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติของสาย สภาพการใช้งาน และความเหมาะสมการใช้งาน สายนำสัญญาณที่ใช้ใน ระบบ LAN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะต่างๆคือสายสัญญาณแบบคู่บิดเกลียว ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภท แรก เป็นชนิด UTP(Unshield Twisted Pair)เป็นสายคู่บิดเกลียว4คู่ใช้ยาวไม่เกิน 100 เมตร สายที่ใช้ แบคโบน นั้น เป็นสายขนาด 25 คู่สายในมัดเดียว รองรับการสื่อสารได้สูงถึง100Mbpsและ ประเภทที่ 2 ชนิด STP(Shield Twisted Piar)เป็นสายที่พัฒนามาจากสาย UTPโดยมีชีลด์ห่อหุ้มภายนอก ใช้ข้อมูลการสื่อสารได้ 100 Mbps สาย STP ที่เป็นแบคโบน นี้เป็นสายที่ออกแบบมาให้ไปได้ระยะทางที่ไกลขึ้น สายโคแอกเชียล เป็นอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันมากเป็นสายนำสัญญาญที่ ป้องกัน สัญญาณรบกวน ได้มากทีเดียว สายชนิดนี้ในระบบบัส และใช้เดินระยะใกล้ๆ และ เส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสง 500nM-1300nMส่งผ่านไปยังตัวกลาง สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะสะท้อนกลับภายใน ทำให้มี การสูญเสียสัญญาณ น้อยมาก ทำให้ได้ ระยะทางไกล ขึ้นขณะที่ใช้กำลังส่งที่น้อยและมี สัญญาณรบกวน ที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับ สายนำสัญญาณ ชนิดอื่นๆ สาย ชนิด เส้น ใยแก้วนำแสง นี้มักใช้เป็นแบคโบน โดยจะรองรับการสื่อสารได้สูงถึง800Mbpsหรือมากกว่า แล้วแต่ล่ะชนิดที่นำมาใช้
อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย
อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่ายนั้นมีด้วยกันมากมาย ด้วยคุณลักษณะของการใช้งานแบบต่างๆและยังคงได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LANนั้นได้ยกตัวอย่างที่ พบกันมากดังต่อไปนี้แผ่นการ์ดเครือข่ายเป็นแผ่นอินเตอร์เฟสสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นการ์ดNICมีคุณสมบัติต่างที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่าย และชนิดของคอมพิวเตอร์ อีกด้วย ฮับ(HUP)เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงระหว่างสายตามมาตรฐาน 802.3นั้นใช้เชื่อมโยงใน โทโปโลยี แบบสตาร์ ใช้สายUTPยาวไม่เกิน 100เมตรและยังสามารถ ขยาย PORT ได้มาก ซีดีรอมเซิร์ฟเวอร์(CD-ROM Server)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเช่นเดียวกัน เพื่อใช้แบ่งปันการใช้ข้อมูลต่างๆ ใน CD-ROM เอง รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็น อุปกรณ์ ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย เพื่อช่วยให้ขยายสัญญาณให้สูงขึ้น ทำให้ส่งข้อมูลหรือสื่อสารข้อมูลได้ไกลขึ้นนั้นเองบริดจ์(Bridge)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างระบบ โดยที่ บริดจ์ มีอยู่ 2ลักษณะด้วยกันคือแบบ Internal Bridge และแบบ External Bridge เกตเวย์ (Gateway)เป็น อุปกรณ์ ที่ทำงานคล้ายกัย Bridge แต่จะใช้ การเชื่อมต่อ กับระบบที่ใหญ่กว่ามี ประสิทธิภาพ ที่สูงกว่า และความเร็วที่สูงกว่าและ เราเตอร์ (Router)เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่มีมากกว่า หนึ่งเซกเมนต์เพื่อกำหนดเส้นทางข้อมูลได้มากขึ้น ต่อไป
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน ระบบ LAN
คือ ระบบปฏิบัติการ เครือข่ายประกอบด้วยซอฟต์แวร์ สามส่วนผลิตภัณฑ์บางชนิด รวมสามส่วนไว้ในโปรแกรมเดียวบางชนิดก็ซับซ้อนกว่า แบ่งงานออกเป็นโมดูล ลายตัว ส่วนแรกเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับล่างสุด กับหน้าที่จัดเตรียมและดูแลการเชื่อมต่อให้คงอยู่ ซอฟต์แวร์ส่วนนี้ ประกอบด้วยโปรแกรม ไดรเวอร์ สำหรับเน็ตเวิร์คอแดปเตอร์ ส่วนที่เหลืออีกสองส่วนหนึ่งคือส่วนที่อยู่ในสถานีงานจะสร้างข่าวสาร การร้องขอและส่งไปยังไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ส่วนซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LANจากดาวถึง2โปรแกรม คือ Corbon Copy และ PC Anywhere โดยจะได้อธิบายถึงการทำงานและความสามารถของมัน Corbon Copyนั้นใช้งาน Novell LXและ NetBEUI ส่วน PC Anywhere เวอร์ชัน 4.5 นั้นเป็นภาพที่ทำงานด้วยเมนู มีการตรวจวิเคราะห์ Hard ware ที่คงอยู่ ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ของโปรแกรมซึ่งจะเกี่ยวกับ การใช้ Hard disk เมื่อเวิร์กสเตชัน ต้องการใช้ข้อมูล ก็ส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อส่งให้ เซิร์ฟเวอร์ทำงาน แต่ในทางปฏิบัติงาน NetWare กระบวนการในการลำดับงานไม่สามารถกำหนดระดับ ความสามารถ ของงานได้ ดังนั้น งานที่มีการใช้งาน Hard disk มากๆ จะมีผลทำให้ การบริการกับงานอื่นๆ ช้าลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุด
ข้อดีของเครือข่ายแบบดาว
- เปลี่ยนแปลงรูปแบบการวางสายได้ง่าย
- สามารถเพิ่ม node ได้ง่าย
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย
- หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ
- มีความเป็นระเบียบ
ข้อเสียของเครือข่ายแบบดาว
- อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)
- สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ
- การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง
- ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
- มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง
- การเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่ายจะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
ข้อคิดเห็น
ถ้าเราเราเป็นเจ้าของกิจการ เราจะเลือก โทโปโลยีแบบใดมาใช้งาน
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)เพราะว่าในระบบ โทโปโลยี แบบดาว นั้นจะเป็นลักษณะของ การต่อเครือข่าย ที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้ การสื่อสาร ได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้ งบประมาณ สูง ใน การติดตั้ง ครั้งแรก
อ้างอิง
http://www4.csc.ku.ac.th
http://guru.google.co.th
http://student.nu.ac.th