วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้

ความรู้คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542 ให้นิยามว่า ความรู้ คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขาซึ่งในความคิดของผู้นั้นคิดว่า นิยามของคำว่า ความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย แต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า "ข้อมูล" หรือ "ข้อเท็จจริง" สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เช่น เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน เช่น การออกใบเสร็จ ใบสั่งของ เอกสารกำกับ เป็นรายการแสดงการดำเนินการ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับส่วนตัว ระดับการทำงานร่วมกัน และระดับกลุ่ม องค์กร ตลอดจนระดับสังคม และชุมชนต่าง ๆ และความรู้นั้นก็มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง ( Tacit Knowledge ) อาจเรียกง่ายๆ ว่า ความรู้ในตัวคน ได้แก่ ความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของบุคคลในการทำความเข้าใจ สิ่งต่างๆ บางครั้งเรียกว่าความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) อาจเรียกว่าความรู้นอกตัวคน เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ ตำราเอกสาร กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน เป็นต้น บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม จากการสำรวจในต่างประเทศ พบว่า แหล่งเก็บความรู้ในองค์กรหรือคลังความรู้ขององค์กรมีอยู่ในเอกสาร ( กระดาษ ) 26% ในเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ 20% ในฐานความรู้ ( IT ) 12% และมากที่สุดอยู่ในสมองพนักงานถึง 42% ขณะเดียวกันก็มีผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงภาคธุรกิจในกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศ สหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการจัดการความรู้พบว่า 80% เห็นว่าการจัดการความรู้ช่วยให้ตนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะที่ประเด็นทางด้านอื่นๆ ได้รับความสำคัญรองๆ ลงมา
อ้างอิง : http://learners.in.th/blog/radchanee-main/2596









"ความรู้ฝังลึก" (tacit knowledge) หมายถึงความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งสั่งสมมานาน เป็นประสบการณ์ชีวิต เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต แต่เป็นความรู้ที่ไม่ได้บอกออกมาชัดแจ้ง คนทุกคนมีความรู้นี้มากน้อยต่างกัน บางคนลึกซึ้งมาก พ่อแม่ปู่ย่าตายาย คนเฒ่าคนแก่ล้วนแต่มีความรู้ดังกล่าว จึงสามารถอยู่รอดมาได้ และเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานให้โตเป็นผู้เป็นคน คนในปัจจุบันทั่วไปต่างก็มีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกันไป พวกเขาไม่ได้บอกได้สอนใคร แต่สังเกตดูให้ดีก็จะเห็นความรู้ความชำนาญนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนขายข้าวแกง ขายก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ ไก่ย่าง ข้างถนน เขาได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์จำนวนหนึ่ง ทำจนเกิดความชำนาญ และอาจมีความรู้บางอย่างที่คนอื่นไม่รู้ เป็น "สูตรเด็ด-เคล็ดลับ" ของแต่ละคน เมื่อมีการถ่ายทอดให้ปรากฎก็กลายเป็น "ความรู้ชัดแจ้ง" (explicit knowledge) เกิดเป็นระบบความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิต กับความรู้อื่นๆ สามารถเรียนรู้ สื่อสารกันและถ่ายทอดไปสู่คนอื่นได้ เรื่องความรู้สองอย่างนี้เห็นพูดกันพักหนึ่งแล้ว คงเป็นอีกมิติหนึ่งของเรื่องความรู้ ทฤษฎีความรู้ (Epistemology - ญาณวิทยา) ซึ่งมีมาตั้งแต่มีปรัชญาเมื่อคนถามว่า คนรู้ได้อย่างไร ความรู้เป็นอะไร สัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร สัมพันธ์กับการมองโลกความเป็นจริงอย่างไร เป็นต้น ทฤษฎีความรู้เป็นหัวใจของทฤษฎีต่างๆ ทางสังคม เป็นฐานคิดเพื่อการอธิบายโลก อธิบายชีวิต ที่มาของแนวคิดทฤษฎีของวิชาการต่างๆ เรื่องความรู้ก็เปรียบได้กับ "สินทรัพย์"(asset) และ "ทุน"(capital) ซึ่งเรามักจะคิดถึงแต่สินทรัพย์และทุนที่เป็นเงิน ซึ่งคล้ายกับ "ความรู้ชัดแจ้ง" ในขณะที่สินทรัพย์และทุนของชุมชน คนท้องถิ่นมีมากกว่าเงินมากนัก แต่สินทรัพย์และทุนเหล่านั้น "ฝังลึก" ทำอย่างไรจะเอาสินทรัพย์และทุนท้องถิ่นที่ฝังลึก (tacit asset - tacit capital) ขึ้นมาให้ปรากฎชัดแจ้ง (explicit asset - explicit capital)

mbination, และ Internalization สำหรับ Socialization คือ การแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge ด้วยการสื่อสารระหว่างกันในสิ่งที่เป็น Tacit Knowledge ของผู้ที่สื่อสารกัน ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้าและผู้รับจ้างช่วง หรือลักษณะ "การจัดการด้วยการเดินเยี่ยมในที่ทำงาน" (Management by walking around, MBWA) เมื่อมีการแบ่งปันข้อมูลด้วยกระบวนการทางสังคมดังกล่าวแล้ว จะทำให้เกิดความคิด ใหม่ ๆ และความตระหนัก ถึงข้อมูลใหม่ ๆ ที่เปิดเผยออกมาและควรได้มีการเปลี่ยนให้เป็นรูปของภาษา ซึ่งก็คือ Explicit Knowledge กระบวนการลักษณะนี้เรียกว่า Externalization จากนั้น จะต้องมีการรวมตัวอย่างที่ได้เรียนรู้ของ Explicit Knowledge เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ใหม่จากการกระทำดังกล่าว ในขั้นนี้ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทสำคัญมาก ลักษณะการสร้างความรู้ขั้นสุดท้าย คือ ขั้น Internalization ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปปฏิบัติทำให้มีการแปลง Explicit Knowledge ให้เป็น Tacit Knowledge โดยจะมองเห็นเป็นเทคโนโลยี สินค้า บริการ และการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า และการมีปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าก็จะนำกระบวนการกลับไปสู่วงจรเดิม คือ ขั้นแรกของการสร้างความรู้ คือ Socialization อีก

อ้างอิง :: http://www.phongphit.com/index.phpoption=com_content&task=view&id=173&Itemid=62

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น